วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2562

เพ็ญลักขณา ขำเลิศ กับบทบาทหน้าที่พยาบาลไร้หมวก

  
 ณ โรงพยาบาลภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไม่บ่อยนักที่เราจะได้เห็นภาพของ "เพ็ญลักขณา ขำเลิศ" พยาบาลวิชาชีพที่ประจำอยู่ในโรงพยาบาลแห่งนี้อยู่ในยูนิฟอร์มสีขาวของสาวพยาบาล แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า เธอละทิ้งหน้าที่ เพราะเธอบอกว่า หน้าที่ของเธอไม่ใช่แค่การดูแลผู้ป่วยตามเตียงในโรงพยาบาลเท่านั้น แต่เธอยังอุทิศตัวเองให้กับเตียงผู้ป่วยนับร้อยนับพันหลังคาเรือนในอำเภอภาชี ในฐานะ "พยาบาลไร้หมวก"

          เพ็ญลักขณา บอกว่า การเป็นพยาบาลไม่จำเป็นต้องมีเครื่องแบบ หากแต่ "หัวใจ" ต่างหาก คือสิ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นพยาบาลที่แท้จริง นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไม เพ็ญลักขณา หรือ พี่ติ๋ง จึงมักจะเลือกลงพื้นที่ไปดูแลผู้ป่วยใน 60 หมู่บ้านในอำเภอภาชี มากกว่าการทำงานอยู่ในโรงพยาบาลภาชี เพราะจะได้เห็นกับตาตัวเองว่า คนไข้กินอยู่อย่างไร และทำไมหลายคนจึงไม่หายจากโรคเสียที แม้ว่าตัวเธอเองก็กำลังทนทุกข์ทรมานจากการเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ซึ่งต้องได้รับการเยียวยาไม่ต่างจากคนไข้รายอื่น ๆ ที่เธอรับผิดชอบอยู่ แต่พี่ติ๋งกลับมองว่า นี่ไม่ใช่เงื่อนไขที่จะมาทำให้เธอย่อหย่อนต่อหน้าที่การงานได้

          "ที่พี่ทำทุกวันนี้ทำเพื่อคนไข้ ไม่ได้ทำเพื่อตอบสนองนโยบายเอาเงินมาแลกกับงาน งานที่พี่ทำคืองานที่ทำเพื่อแลกกับคน แลกกับชีวิตมนุษย์ เราต้องเป็นผู้ให้ อย่าเป็นผู้รับ เวลาที่เราเป็นข้าราชการ เราต้องนึกเสมอว่า จะทำอย่างไรที่จะมีโอกาส "ให้" ให้ประชาชนมีความสุข ให้คนที่เจ็บไข้ได้ป่วยเขาพ้นทุกข์ได้ มันไม่มีอะไรมากนอกจากการให้" 

          ...สิ่งที่พี่เพ็ญลักขณากำลังทำอยู่ใช่ไหม? ที่เขาเรียกว่า ทุ่มเททั้งกายและใจให้กับเพื่อนมนุษย์


ที่มาภาพเเละข้อมูลhttps://hilight.kapook.com/view/65376?fbclid=IwAR0gp6dJGhrjqX0RCYf1uyWpO-WyHrc0dcBJy7MNOIfGoyn1cjnYqKoU7uk

น้ำใจเล็ก ๆ ที่ยิ่งใหญ่ของป้าหาบ...แม่ค้า 5 บาท

 ในยุคข้าวยากหมากแพง การจะหาอะไรรับประทานให้อิ่มท้องในราคาเพียงแค่ 5 บาท ดูจะเป็นเรื่องยากเสียยิ่งกว่ายาก แต่ทว่า...ในมุมเล็ก ๆ มุมหนึ่งของสังคม ยังมีแม่ค้าวัยย่างหกสิบปีคนหนึ่งประกอบอาชีพหาบเร่ขายกับข้าวมานานกว่า 30 ปีแล้ว และยังคงตรึงราคาเดิมที่ 5 บาท แม้ว่าข้าวจะยาก หมากจะแพง น้ำมันจะปรับขึ้นราคา แต่ "ป้าแดง บุญยัง พิมพ์รัตน์” หรือที่ทุกคนเรียกแกว่า "ป้าหาบ" แม่ค้าในซอยจรัญสนิทวงศ์ 33 แยก 3 ก็ไม่เคยแม้แต่จะคิดปรับขึ้นราคา

          "นึกถึงตัวเองเวลาไม่มี ท้องหิวมันทรมานมากนะ คนเงินเดือนน้อย ๆ ก็อยากให้เขากินอิ่ม บางคนมีเงินมา 10 บาท มาซื้อกับป้า ป้าก็ให้เขาเยอะ ๆ เป็นข้าวเหนียวเป็นอะไรอย่างนี้ บางคนมาไกล ๆ ไม่มีเงินมา ป้าก็ให้ไปบ้าง หรือไม่ก็คิดเขาแค่ครึ่งเดียว 20 บาท เอา 10 บาทพอ" ป้าหาบ บอก

          เพราะความที่้ป้าหาบเคยอัตคัดขัดสนมาก่อน แต่ ณ วันนี้ แกสามารถสร้างเนื้อสร้างตัวจนพอมีพอใช้อย่างพอเพียงแล้ว ก็ได้เวลาที่จะแบ่งปันความอิ่มท้องให้กับผู้อื่นบ้าง โดยป้าหาบบอกว่า ชีวิตของแกสุขสบายดี ไม่เป็นหนี้ ไม่ลำบาก ก็ไม่เป็นจำเป็นที่จะต้องเอากำรี้กำไรอะไรให้คนอื่นเดือดร้อน สู้ "ให้ผู้อื่น" จะดีกว่า

          เห็นไหมว่า เพียงแค่ความคิดเล็ก ๆ ของป้าหาบที่เจือจานน้ำใจอันยิ่งใหญ่สู่เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน กลับทำให้มุมหนึ่งของสังคมไทยในยุคข้าวยากหมากแพงดูแล้วมีความสุขขึ้นมาถนัดตา

ที่มาภาพเเละข้อมูลhttps://hilight.kapook.com/view/65376?fbclid=IwAR0gp6dJGhrjqX0RCYf1uyWpO-WyHrc0dcBJy7MNOIfGoyn1cjnYqKoU7uk

วิชิต คำไกร หมออนามัย...ผู้ทุ่มเทกายใจให้คนชายแดน

 หลังจากจบการศึกษาจากวิทยาลัยสุขภาพ ชลบุรี เด็กต่างจังหวัดลูกชาวนาจากปราจีนบุรี อย่าง "วิชิต คำไกร" ก็ตัดสินใจเลือกบรรจุตัวเองให้มาทำงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทับพริก อำเภออรัญประเทศ พื้นที่ชายขอบซึ่งคงจะมีน้อยคนนักที่อยากจะมาอาศัยอยู่ แต่ "หมออนามัย" คนนี้ เลือกเส้นทางนี้ เพราะได้เห็นความทุกข์ยากของคนไข้ในเขตชายแดนที่ห่างไกล และคิดไปถึงตัวเองที่เป็นลูกชาวนาในพื้นที่ทุรกันดารเช่นกัน จึงตัดสินใจลงมาทำงานยังที่ตำบลทับพริก           นอกจากการรักษาคนไข้ในโรงพยาบาลแล้ว ภารกิจหลักของ "วิชิต" คือ การลงพื้นที่ไปเคาะประตูดูแลสารทุกข์สุกดิบด้านสุขภาพให้กับชาวบ้าน ด้วยความรู้สึกที่ว่า ชาวบ้านคือคนในครอบครัวเดียวกัน และหากมีเวลาว่าง หมออนามัยคนนี้จะลงพื้นที่ตระเวนตรวจความเรียบร้อยของหมู่บ้าน ร่วมกับผู้นำชุมชน เพื่อป้องปรามปัญหายาเสพติดในหมู่เยาวชนภายในตำบลทับพริก โดยหวังขจัดปัญหาต่าง ๆ และยกระดับชุมชนให้เข้มแข็งขึ้น ซึ่งเป็นงานที่คุณหมอลงมาทำด้วยตัวเองด้วยจิตใจที่หวังให้ประโยชน์เกิดแก่ชาวชุมชนด้วยกัน           "เราเป็นข้าราชการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระองค์ทรงบอกว่า เมื่อจะทำงานอย่ายกเอาความขาดแคลนมาเป็นข้ออ้าง แต่ให้ทำงานท่ามกลางความขาดแคลนนั้นให้บรรลุผล เพราะฉะนั้นความขาดแคลนในพื้นที่ตำบลทับพริกอาจจะมีบ้าง แต่เราต้องแปรเปลี่ยนความขาดแคลนนั้นให้เป็นพลังในการที่จะสามารถแก้ไขปัญหาได้ ก็จะทำให้เรามีพลังใจในการทำงานช่วยเหลือผู้อื่น"           ...หากทุกคนคิดได้เหมือนกับพี่วิชิต ชาวบ้านในพื้นที่ห่างไกล คงจะได้มีคุณภาพชีวิต และได้รับโอกาสทางสังคมมากกว่าที่เป็นอยู่อย่างแน่นอน


ที่มาภาพเเละข้อมูลhttps://hilight.kapook.com/view/65376?fbclid=IwAR0gp6dJGhrjqX0RCYf1uyWpO-WyHrc0dcBJy7MNOIfGoyn1cjnYqKoU7uk

ชุดปฏิบัติการเหยี่ยวดง 60 ผู้ยอมเสี่ยงชีวิตปกป้องด้ามขวานไทย

 

ไม่มีใครอยากทิ้งชีวิตไว้ยังพื้นที่สีแดงของปลายด้ามขวานไทย แต่สำหรับพวกเขา "ชุดปฏิบัติการเหยี่ยวดง 60" ทั้งหมด 15 ชีวิต นี่คือหน้าที่ในฐานะชายชาติทหารผู้ต้องเก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิด ก่อนที่มันจะไปคร่าชีวิตของใคร นำทีมโดย ร้อยตำรวจตรีแชน วรงคไพสิฐ ซึ่งทุกคนในทีมล้วนผ่านเหตุการณ์ระเบิดมาหลายต่อหลายครั้ง ผ่านเหตุการณ์เสี่ยงตายมาก็มากมาย บาดเจ็บมาจนนับครั้งไม่ถ้วน แต่ทว่าก็ไม่มีใครยอมแพ้ และขอลาออกจากทีมชุดนี้ เพราะหัวใจยัง "สู้" อยู่           ไม่มีใครรู้ว่า สถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้จะสิ้นสุดลงเมื่อใด เช่นเดียวกับเหล่าสมาชิกหน่วยเก็บกู้ระเบิดที่ไม่มีใครรู้ว่า วันใดที่พวกเขาจะออกไปปฏิบัติหน้าที่เป็นวันสุดท้าย แต่พวกเขาตระหนักไว้เสมอว่า หากต้องตายก็ขอตายอย่างมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี ในฐานะของข้าราชการที่ปวารณาตัวเป็นข้าของแผ่นดิน            "พวกผมเกิดเป็นคนไทย เกิดในสามจังหวัดภาคใต้ พวกผมต้องตอบแทนพระคุณแผ่นดิน พวกผมทั้งหมดที่ยืนตรงนี้เป็นลูกชาวสวน ชาวนา ชาวไร่ อุปกรณ์ที่ชาวสวน ชาวนาใช้ทำงานก็คือ "ขวาน" หาก "ขวาน" ไม่มีด้าม ก็ใช้ทำอะไรไม่ได้ พวกผมขอสัญญาต่อหน้าพระคุณเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตรงนี้ว่า พวกผมจะดูแลรักษาด้ามขวานตรงนี้ตลอดไป"            นี่คือคำปฏิญาณของนายทหารกล้าที่ประกาศก้องต่อหน้าทุกคน และถ้อยวาจานี้คงเป็นคำตอบว่า ทำไมทั้ง 15 ชีวิต ยังยืนหยัดที่จะอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย เพื่อปกป้องคนไทยให้นอนหลับฝันดี


ชีวิตที่มีความหมายของคนสร้างฝาย ... คุณย่ายิ้ม



 ใครที่ได้รับรู้เรื่องราวของ "ย่ายิ้ม" หรือ "ย่ายิ้ม เย้ยยาก" คงจะอดอมยิ้มตามไปกับแกไม่ได้แน่นอน เมื่อหญิงชราวัย 80 กว่า ที่ใช้ชีวิตอยู่ในป่าทึบเพียงลำพัง กลับไม่เคยอยู่ห่างจากคำว่า "ความสุข" เลย 
          นั่นเพราะทุก ๆ วัน "ย่ายิ้ม" จะไม่ปล่อยให้เวลาเดินผ่านไปอย่างไร้ค่า และสิ่งมีค่าที่ "ย่ายิ้ม" ทำก็คือ การเดินถือจอบเก่า ๆ 1 อัน ขึ้นเขาไปตัดไม้ไผ่หลายสิบท่อนเพื่อมาสร้างฝาย โดยหวังจะให้ผืนป่าประเทศไทยเป็นผืนป่าที่ชุ่มชื้นอุดมสมบูรณ์ ตามพระราชดำรัสของพ่อหลวงที่คุณย่ายิ้มเคยได้ยินได้ฟังมานานนับสิบปีแล้ว และตั้งแต่นั้นมา คุณย่ายิ้มก็จำคำสอนของพ่อหลวงใส่เกล้า และปณิธานกับตัวเองว่า จะต้องสร้างฝาย เพื่อสร้างประโยชน์ต่อแผ่นดินไทย

          อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสังขารของหญิงชราจะร่วงโรยลงไปตามวัย แต่นั่นไม่ใช่อุปสรรคที่ทำให้ "ย่ายิ้ม" หยุด เพราะแกถือคติว่า วันนี้มีแรงแค่ไหนก็ทำเท่านั้น พอตื่นเช้าขึ้นมาในวันรุ่งขึ้น ก็ลุกขึ้นมาทำใหม่ แต่จะมีเพียงวันโกนและวันพระเท่านั้น ที่ "ย่ายิ้ม" จะหยุดพักจากการสร้างฝาย และการหยุดของแกไม่ใช่การหยุดพักผ่อนกาย เพราะในวันดังกล่าวนั้น ย่ายิ้มจะเดินทางลงจากเขากว่า 8 กิโลเมตร เพื่อไปเข้าวัดเข้าวาทำจิตใจให้สงบผ่อนคลายจิตใจ

          หลายคนสงสัยว่า "ย่ายิ้ม" จะมาลำบากทำไม ทั้งที่ลูก ๆ หลาน ๆ ของแกก็มีฐานะและอ้อนวอนให้ "ย่ายิ้ม" กลับไปอยู่บ้านด้วยกัน แต่ "ย่ายิ้ม" กลับเลือกที่จะอยู่ที่นี่ นั่นเพราะแกคิดเสมอว่า "ทางสวรรค์จะเป็นทางที่รก ทางนรกจะเป็นทางที่เรียบ..."
          ตลอดหลายปีกับชีวิตกลางป่าเขาเพียงลำพัง ย่ายิ้ม สารภาพว่า เมื่อไหร่ที่ลูกขึ้นมาหาและมานอนด้วย แกก็ดีใจทุกครั้ง แต่พอกลับกันไป แค่เห็นเดินคล้อยหลังก็นั่งใจละห้อยแล้ว...แต่ถึงอย่างไร แกก็ยังยืนหยัดว่าจะขออยู่ในป่าในเขาอย่างนี้ไปจนตาย และคำขอสุดท้ายที่ฝากไว้กับลูกคือ...ถ้าแม่ตาย ก็ให้เผาให้ฝังไว้ที่ไร่บนเขานี้

          "ย่าไม่อยากตายหรอกหนา แต่ไม่เคยกลัว ถึงเวลาจะต้องละแล้ว ก็ต้องไป..." ถ้อยคำนี้บอกได้เป็นอย่างดีว่า หญิงชราวัย 80 เข้าใจถึงแก่นแท้ของชีวิตแล้วจริง ๆ



เพ็ญลักขณา ขำเลิศ กับบทบาทหน้าที่พยาบาลไร้หมวก

    ณ โรงพยาบาลภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไม่บ่อยนักที่เราจะได้เห็นภาพของ "เพ็ญลักขณา ขำเลิศ" พยาบาลวิชาชีพที่ประจำอยู่ในโรงพย...